สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ วันที่ 19 พ.ย. 64
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศม.) รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ วันที่ 19 พ.ย. 64 ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า
2. ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
4. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
5. GDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 64 ลดลงที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2564 ลดลงจากไตรมาส 2 ปี 2564 ร้อยละ -1.1 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี
โดย เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ชะลอลงจากการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลงร้อยละ -3.2 เป็นผลจาก การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงและต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า การดาเนินมาตรการป้องกันของ ภาครัฐ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวม อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ยังมีปัจจัย สนับสนุนจากนโยบายของภาครัฐที่เข้ามาช่วยพยุงกาลังซื้อ และบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน เช่น โครงการคนละครึ่งโครงการเพิ่มกาลังซื้อแกผู่้มบีัตรสวัสดิการแหง่รฐัโครงการเยยีวยาผู้ประกันตนม.33ม.39 ม.40 โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา รวมถึงมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า และค่าน้าประปา รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในช่วงปลาย ไตรมาส ขณะที่การส่งออกสินค้าและการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้า ขยายตัวทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม ตามอุปสงค์จากจีนและอาเซียนเป็นสาคัญ
ในส่วนของภาคการผลิต การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ -1.4 โดยการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมเบา และวัตถุดิบลดลง ส่วนอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีชะลอตัว ทั้งนี้ ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของ อปุ สงค์ในประเทศเป็นสาคัญ การผลิตสาขาเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 4.3 เป็นการขยายตัวทั้งการผลิตใน หมวดพืช ปศุสัตว์ และประมง ขณะที่การผลิตสาขาบริการขยายตัวร้อยละ 0.2 โดยสาขาบริการที่ขยายตัวได้ ได้แก่ สาขาการขายส่งและการขายปลีก สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย และสาขาข้อมูลข่าวสารและ การสื่อสาร ขณะที่สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าปรับตัวลดลง
ที่มา : สศช.
ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ต.ค. 64 กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.0 เม่ือเทียบกับเดือน ก่อนหน้า
โดยในเดือนต.ค.64กิจกรรมการก่อสรา้งที่เคยไดร้บัผลกระทบจากมาตรการปิดไซตง์านกอ่สรา้งเรมิ่กลบัมา ดาเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับภาวะฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มคลี่คลายลงและการเข้าสู่ฤดูเก็บเก่ียว ส่งผลให้ประชาชนเริ่มมีรายได้ ส่งผลให้ความ ต้องการใช้งานปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น ขณะที่ในระยะถัดไป การประกาศเปิดประเทศ และการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างได้มากขึ้น
ท่ีมา : 3 บริษัทเอกชน คานวณ โดย สศค.
ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค. 64 มีจานวน 19,950 คัน หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -7.0
แนวโน้มของตลาดรถยนต์เริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากการที่ ศบค. ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่กลับมาดาเนินการได้อย่างปกติ ประกอบกับการดาเนินมาตรการเพื่อ กระตุ้นการใช้จ่ายของภาครฐั การเปิดรับนักท่องเที่ยวในโครงการต่าง ๆ และสถานการณ์น้าท่วมที่เริ่มคลี่คลาย เป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้กาลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัวได้มากขึ้น
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 64 มีจานวน 44,512 คัน หดตัวชะลอลงที่ ร้อยละ -13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับเดือน ก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล ตามปริมาณการจาหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล
ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์แมจ้ะยงัหดตัวเมอื่เทียบรายปีแต่หากเทียบกบัเดอืนกอ่นหน้าหลังปรับผลทาง ฤดูกาล เริ่มเห็นทิศทางการฟนื้ ตวั ไดม้ ากขนึ้ หลังจากที่ยอดจาหน่ายฯ สามารถขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน (+37.2 และ+9.0 ในเดือน ก.ย. 64 และ ต.ค. 64 ตามลาดับ) โดยมีปัจจัยสาคัญมาจาก การทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 และการช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ผ่านมาตรการกระตุ้นการบริโภค รวมถึงการประกันรายได้ สินค้าเกษตร ทาให้ประชาชนมีความมั่นใจในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น นอกจากนี้ กิจกรรมส่งเสริมกาารขาย ในงาน Motor Expo ช่วงปลายปี คาดว่าจะช่วยหนุนยอดจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น
ที่มา : บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จากัด และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ
- ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 14.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีแรงหนุนจากราคาน้ามันที่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น และยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ต.ค. 64 หดตัวร้อยละ -0.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาลแล้ว) จากยอดสร้างบ้านแบบคอนโดมิเนียมและทาวน์โฮมที่ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า
- ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ต.ค. 64 กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อน หน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หลังหดตัวในเดือน ก.ย. 64 ที่ร้อยละ -7.8 จากเดือนก่อน หน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากใบอนุญาตก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นในทุกประเภท
- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (7-13 พ.ย. 64) อยู่ที่ระดับ 2.68 แสน ราย ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาด ในสหรัฐฯ เมื่อเดือน มี.ค. 63 เป็นผลจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดแรงงานสหรัฐฯ
จีน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลาง การดาเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการขาดแคลนปัจจัย การผลิต โดยได้รับแรงหนุนจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มการสื่อสาร ไฟฟ้าและพลังงานความ ร้อน และเคมีภัณฑ์ เป็นสาคัญ
- ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดใน รอบ 3 เดือน จากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นหลังจากการระบาดของโควิด-19 ในบางภูมิภาคบรรเทา ลง ส่งผลให้ยอดค้าปลีก 10 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวร้อยละ 14.9 จากช่วงเดียวกันของปี ก่อน
- อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกาลัง แรงงานรวม และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 61
ยูโรโซน
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 64 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น
ญี่ปุ่น
- GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัว ร้อยละ -3.0 เมื่อคานวณแบบ annualized rate และเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -0.8 จาก ไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เป็นผลจากการบริโภคภาคเอกชนและการผลิต ยานยนต์ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19
- มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 13 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- มูลค่าการนาเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 38.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 ขาดดุลที่ 67.4 พันล้านเยน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ 622.8 พันล้านเยน
- ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีของก่อน ขณะที่เดือน ส.ค. 64 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็น การกลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 7 เดือน
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.15 จากช่วงเดียวกันปีของก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ฮ่องกง
- อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน และถือเป็นอัตราการว่างงานที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63
อินโดนีเซีย
- มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 53.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัว ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 47.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- มูลค่าการนาเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 51.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 40.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 เกินดุลที่ 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุลที่ 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี เพื่อสนับสนุน การเติบโตของเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน
ฟิลิปปินส์
- ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อสนับสนุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ
สิงคโปร์
- มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัว ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- มูลค่าการนาเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 เกินดุลที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุลที่ 4.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
สหราชอาณาจักร
- อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ส.ค. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ ร้อยละ 4.4 ของกาลังแรงงานรวม
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 64 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาที่อยู่อาศัยและราคาพลังงาน
เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาด หลักทรัพย์อ่ืน ๆ ในภูมิภาคท่ีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น STI (สิงคโปร์) PSEi (ฟิลิปินส์) และ DJIA (สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,651.02 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย ระหว่างวันที่ 15-18 พ.ย. 64 อยู่ที่ 78,961.39 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัท หลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขาย สุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15-18 พ.ย. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 1,269.33 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 14 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 22 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 0.98 เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15-18 พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 11,873.81 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึง วันที่ 18 พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาด พันธบัตรสุทธิ 138,382.15 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันท่ี 18 พ.ย. 64 เงินบาท ปิดท่ี 32.61 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.82 จากสัปดาห์ ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหยวนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะท่ี เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต วอน และดอลลาร์สิงคโปร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐ ท้ังน้ี เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ใน ภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.04 จาก สัปดาห์ก่อน
Economic Indicators
Global Economic Indicators
ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259